ผมบางทำไงดี? ปัญหาผมบาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในตัวเองอย่างมาก สาเหตุของปัญหาผมบางนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่พันธุกรรม ความเครียด การขาดสารอาหาร ไปจนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผมที่ไม่เหมาะสม แต่ไม่ต้องกังวลไป บทความนี้จะมาเผยเคล็ดลับการดูแลผมที่ได้ผลจริง เพื่อให้คุณมีผมสวยสุขภาพดีอีกครั้ง
สาเหตุของปัญหาผมบาง
ผมบางเกิดจากอะไร? สาเหตุของปัญหาผมบางมีมากมาย ทั้งปัจจัยภายในร่างกาย และปัจจัยภายนอก การหาสาเหตุที่แท้จริงจะช่วยให้สามารถรักษาและป้องกันปัญหาผมบางได้อย่างตรงจุด
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผมบาง
- ยาและการรักษา เช่น ยาเคมีบำบัด ยากดภูมิคุ้มกัน ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาลดความดัน ยาคุมกำเนิด และยาบางชนิดสำหรับรักษาโรคเรื้อรัง สามารถเป็นสาเหตุให้ผมบางได้
- การติดเชื้อ เชื้อราบนหนังศีรษะสามารถทำให้เกิดการอักเสบ และผมบางได้หรือเป็นผลกระทบหลังจากการติดเชื้อโควิด-19
- การรักษาทางการแพทย์ การฉายรังสีและเคมีบำบัดมักมีผลข้างเคียงนั้นก็คือผมบาง
- พฤติกรรมที่รุนแรง เช่น การดึงผมแรง ๆ การขัดถูหนังศีรษะแรงเกินไป การทำผมที่ก่อให้เกิดความร้อนสูง เช่น การหนีบผม การดัดผม การยืดผม หรือการทำสีผมบ่อย ๆ สามารถทำลายโครงสร้างของเส้นผมและทำให้ผมบางได้
- ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวดผม สเปรย์จัดแต่งทรงผม หากใช้ในปริมาณมากหรือบ่อยเกินไป อาจทำให้หนังศีรษะระคายเคืองและผมบางได้
- สภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะ แสงแดดที่รุนแรง และความเครียดจากสภาพแวดล้อม ก็เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผมบางได้
- การใส่วิกผมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการกดทับและการบาดเจ็บที่เส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วงและหนังศีรษะอักเสบได้
ปัจจัยภายในที่ทำให้ผมบาง
- พันธุกรรมและฮอร์โมน เป็นสาเหตุหลักของผมบางในผู้ชาย คือ ภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน (Androgenetic alopecia) เกิดจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เส้นผมลีบมีลักษณะเส้นเล็กและหลุดร่วงง่าย
- ระบบภูมิคุ้มกัน โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันรบกวนรากผม ทำให้ผมหลุดร่วงเป็นวงกลม
- ความเครียดและการเจ็บป่วย ความเครียด การเจ็บป่วยรุนแรง หรือการผ่าตัด อาจทำให้ผมเข้าสู่ช่วงพักตัวและหลุดร่วงได้
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคไทรอยด์ และโรคติดเชื้อบางชนิด สามารถทำให้ผมบางได้
- ภาวะขาดสารอาหาร การขาดธาตุเหล็ก โปรตีน หรือวิตามิน อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม
- โรคทางพันธุกรรม โรคบางชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจทำให้ผมบางตั้งแต่เกิด
ผู้ชาย VS. ผู้หญิง ใครมีโอกาสผมร่วงมากกว่ากัน
สาเหตุของผมบางในเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกัน โดยในเพศชายนั้น พันธุกรรมและฮอร์โมนเพศชาย โดยเฉพาะ DHT มีบทบาทสำคัญในการทำให้รูขุมขนเล็กลงและผลิตเส้นผมได้น้อยลง นอกจากนี้ พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่และความเครียด ยังเร่งให้ผมร่วงเร็วขึ้นอีกด้วย ในขณะที่เพศหญิงนั้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงต่าง ๆ เช่น หลังคลอดหรือวัยหมดประจำเดือน รวมถึงความเครียด การขาดสารอาหาร และโรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการหลุดร่วงของเส้นผมได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้หญิงยังเผชิญกับปัจจัยภายนอกที่ทำร้ายเส้นผมและหนังศีรษะมากกว่าผู้ชาย เช่น การทำสีผม ดัดผม ใช้ความร้อนจัด และการสระผมบ่อยครั้ง ซึ่งล้วนทำให้อาการผมร่วงรุนแรงขึ้นได้
อาการที่บอกว่า ผมร่วงมากกว่าปกติ
หากคุณกังวลเรื่องผมบางมาก ๆ ลองสังเกตอาการดังนี้
- ผมขาดเป็นวงกลมหรือเป็นหย่อม ๆ บนศีรษะ หรือผมบางกลางหัวในผู้ชาย
- ผมบางลงเรื่อย ๆ จนสังเกตเห็นได้ชัด หรือบางทั่วทั้งหัว ซึ่งอาการแบบนี้พบได้บ่อยในผู้หญิง แต่ในผู้ชายมักจะบางเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีผมร่วงมากขึ้น หรืออาจกำลังเป็นศีรษะล้าน
- หนังศีรษะลอกเป็นขุย คัน หรือมีรอยแดง อาจบ่งบอกถึงปัญหาที่รุนแรงกว่า
- การที่ผมร่วงบ้างเล็กน้อยนั้นถือเป็นเรื่องปกติของร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะผมร่วงประมาณ 70-100 เส้นต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเส้นผมทั้งหมด 90,000 – 140,000 เส้น บนศีรษะ แต่ถ้าสังเกตเห็นว่าผมร่วงเยอะเกิน 200 เส้นต่อวัน เช่น พบเส้นผมจำนวนมากติดอยู่ที่หวี หมอน หรือในอ่างอาบน้ำบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าเรากำลังเผชิญกับปัญหาผมร่วงที่ควรใส่ใจ
- ทุกเช้าที่ส่องกระจก ลองสังเกตแนวผมบริเวณหน้าผาก ว่าเริ่มถอยร่นเข้าไปเรื่อย ๆ หรือไม่? เพียงวัดระยะจากกลางหว่างคิ้วตรงขึ้นไปถึงจุดกึ่งกลางของแนวไรผม หากเกิน 6.5 เซนติเมตร ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ นอกจากนี้ สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่ มักพบปัญหาผมร่วงเป็นรูปตัว M คือบริเวณขมับทั้งสองข้างจะบางลงก่อน ลองวัดระยะเฉียงจากหัวคิ้วออกไปถึงจุดที่ผมเว้าลึกที่สุดบริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง หากเกิน 8 เซนติเมตร ก็ถือว่าเป็นภาวะผมร่วงมากกว่าปกติ
- ผมยาวช้าลงกว่าแต่ก่อน ซึ่งปกติแล้ว ผมจะยาวขึ้นปีละประมาณ 6 นิ้ว อาจเป็นเพราะรากผมทำงานไม่ดีเท่าเดิม ทำให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
5 วิธีการรักษาอาการผมบาง
ผมบางแก้ยังไง? ปัญหาผมบางส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีวิธีการรักษาและฟื้นฟูเส้นผมให้กลับมาสวยสุขภาพดีหลากหลายวิธี ดังนี้
1. การใช้ยารักษาผมบาง
- ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยการขยายหลอดเลือดที่เลี้ยงรากผม ทำให้รากผมแข็งแรงและเส้นผมงอกใหม่ได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่ประสบปัญหาผมบาง
- ฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็น DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รูขุมขนเล็กลงและผมหลุดร่วง จึงเหมาะสำหรับผู้ชายที่มีปัญหาผมบางจากกรรมพันธุ์
2. การทำ PRP ผม
PRP (Platelet-Rich Plasma) หรือ พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น คือการนำเลือดของผู้ป่วยเองมาปั่นแยกเอาส่วนที่เป็นเกล็ดเลือด ซึ่งอุดมไปด้วย Growth Factors ที่ช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและฟื้นฟูเนื้อเยื่อต่าง ๆ เมื่อนำไปฉีดเข้าสู่หนังศีรษะ จะช่วยกระตุ้นรากผมให้ตื่นตัว ทำให้เส้นผมงอกใหม่ แข็งแรง และหนาขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือต้องการชะลอการเกิดผมหงอก ซึ่งข้อดีของ PRP คือปลอดภัย เนื่องจากใช้เลือดของตัวเอง และผลลัพธ์เป็นธรรมชาติ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นผมของแต่ละบุคคล และอาจต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ก่อนตัดสินใจทำ PRP ผม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพเส้นผมและหนังศีรษะก่อน
3. การทำเลเซอร์กระตุ้นรากผม
การทำเลเซอร์กระตุ้นรากผมเป็นการรักษาปัญหาผมบาง ด้วยการใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำส่องหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นเซลล์รากผมให้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น ลดการหลุดร่วง และอาจกระตุ้นให้เกิดเส้นผมใหม่ได้
การรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง แต่ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือต้องการเพิ่มความหนาของเส้นผม หากสนใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
4. การปลูกผม
การปลูกผมเป็นกระบวนการย้ายรากผมจากบริเวณที่มีผมหนาไปยังบริเวณที่ผมบางหรือหัวล้าน ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดและถาวรที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด เช่น เลือดออก บวม หรือรอยแผลเป็น โดยระดับความเสี่ยงจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สุขภาพโดยรวม และเทคนิคการปลูกผม
5. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อสังเกตเห็นอาการผมบาง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ซึ่งในการปรึกษา แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพของคุณอย่างละเอียด รวมถึงประวัติครอบครัวที่มีปัญหาผมบางหรือไม่ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ และอาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจชิ้นเนื้อหนังศีรษะ หรือตรวจอื่น ๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือการปลูกผม
เคล็ดลับดูแลและลดโอกาสเกิดผมบาง
บำรุงเส้นผมอย่างถูกวิธี ช่วยลดปัญหาผมบางและผมร่วงได้ง่าย ๆ ดังนี้
- เสริมวิตามิน ผมบางกินอะไรดี? หากร่างกายขาดวิตามินดีหรือธาตุเหล็ก การทานยาเสริมภายใต้คำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้ผมแข็งแรงขึ้น
- ดูแลเส้นผม ผมบางใช้อะไรดี? ใช้แชมพูที่อ่อนโยน หลีกเลี่ยงการทำร้ายเส้นผม เช่น ดัด ยืด หรือใช้ความร้อนสูง
- เป่าผมก่อนนอน การสระผมในช่วงเย็นหรือก่อนนอนนั้น ควรเป่าผมให้แห้งสนิทก่อนเข้านอนเสมอ เพราะหากนอนทั้งที่ผมยังเปียก ความชื้นจะทำให้หนังศีรษะอับชื้น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียและเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้ เส้นผมเปียกจะอ่อนแอและขาดง่าย เมื่อเราพลิกตัวขณะนอน เส้นผมอาจจะขาดหรือหลุดร่วงได้มากขึ้น ทำให้ผมบางได้ในระยะยาว
- นวดหนังศีรษะ การนวดศีรษะเบา ๆ ด้วยปลายนิ้ว ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ควรนวดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อผมสวยสุขภาพดี
รักษาผมบางที่ Zeniq Holistic Clinic ดีกว่าอย่างไร
ใครที่กำลังกังวลเรื่องผมบางหรือศีรษะล้าน สามารถกลับมามั่นใจกับเส้นผมดกดำได้อีกครั้งที่ Zeniq Holistic Clinic ด้วยเทคนิคพิเศษ Long hair + DHI ที่ไม่ต้องผ่าตัด ไร้รอยแผลใหญ่และแทบมองไม่เห็นรอยเจาะเล็ก ๆ ด้านหลัง ทำให้คุณกลับมามีเส้นผมที่ดูเป็นธรรมชาติ เหมือนผมที่งอกขึ้นมาเองโดยไม่ต้องปลูก ซึ่งผมที่ได้จะดกดำแข็งแรง ทั้งยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติทันทีหลังทำ ไม่ต้องพักฟื้นยาวนาน
นอกจากนี้ ที่คลินิกยังเลือกใช้อุปกรณ์และน้ำยาคุณภาพสูง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อมอบความมั่นใจให้คุณด้วยเส้นผมใหม่ที่ดูเป็นธรรมชาติอย่างที่ต้องการ โดยการปลูกผมจะมีราคา ดังนี้
- Long hair ราคาประมาณ 120,000 บาท (เคสรีวิว 89,000 บาท)
- DHI ราคาประมาณ 89,000 บาท (เคสรีวิว 70,000 บาท)
สรุป
ผมบางเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน สาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม ฮอร์โมน ความเครียด และการขาดสารอาหาร การรักษาผมบางมีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ยา การทำ PRP เลเซอร์ และการปลูกผม ซึ่งการเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของปัญหา ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่สุด นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การดูแลสุขภาพโดยรวม เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ ก็มีส่วนช่วยในการรักษาปัญหาผมบางได้เช่นกัน