Zeniq Holistic - สระความรู้

ผมบางมีหนทางรักษา! 5 วิธีดูแลผมให้แข็งแรงทั้งผู้ชายและผู้หญิง

5 วิธีการรักษาอาการผมบาง ผมบางแก้ยังไง? ปัญหาผมบางส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีวิธีการรักษาและฟื้นฟูเส้นผมให้กลับมาสวยสุขภาพดีหลากหลายวิธี ดังนี้ 1. การใช้ยารักษาผมบาง ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยการขยายหลอดเลือดที่เลี้ยงรากผม ทำให้รากผมแข็งแรงและเส้นผมงอกใหม่ได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่ประสบปัญหาผมบาง ฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็น DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รูขุมขนเล็กลงและผมหลุดร่วง จึงเหมาะสำหรับผู้ชายที่มีปัญหาผมบางจากกรรมพันธุ์ 2. การทำ PRP ผม PRP (Platelet-Rich Plasma) หรือ พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น คือการนำเลือดของผู้ป่วยเองมาปั่นแยกเอาส่วนที่เป็นเกล็ดเลือด ซึ่งอุดมไปด้วย Growth Factors ที่ช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและฟื้นฟูเนื้อเยื่อต่าง ๆ เมื่อนำไปฉีดเข้าสู่หนังศีรษะ จะช่วยกระตุ้นรากผมให้ตื่นตัว ทำให้เส้นผมงอกใหม่ แข็งแรง และหนาขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือต้องการชะลอการเกิดผมหงอก ซึ่งข้อดีของ PRP คือปลอดภัย เนื่องจากใช้เลือดของตัวเอง และผลลัพธ์เป็นธรรมชาติ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นผมของแต่ละบุคคล และอาจต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ก่อนตัดสินใจทำ PRP ผม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพเส้นผมและหนังศีรษะก่อน 3. การทำเลเซอร์กระตุ้นรากผม การทำเลเซอร์กระตุ้นรากผมเป็นการรักษาปัญหาผมบาง ด้วยการใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำส่องหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นเซลล์รากผมให้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น ลดการหลุดร่วง และอาจกระตุ้นให้เกิดเส้นผมใหม่ได้ การรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง แต่ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือต้องการเพิ่มความหนาของเส้นผม หากสนใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม 4. การปลูกผม การปลูกผมเป็นกระบวนการย้ายรากผมจากบริเวณที่มีผมหนาไปยังบริเวณที่ผมบางหรือหัวล้าน ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดและถาวรที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด เช่น เลือดออก บวม หรือรอยแผลเป็น โดยระดับความเสี่ยงจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สุขภาพโดยรวม และเทคนิคการปลูกผม 5. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อสังเกตเห็นอาการผมบาง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ซึ่งในการปรึกษา แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพของคุณอย่างละเอียด รวมถึงประวัติครอบครัวที่มีปัญหาผมบางหรือไม่ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ และอาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจชิ้นเนื้อหนังศีรษะ หรือตรวจอื่น ๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือการปลูกผม

ผมบางทำไงดี? ปัญหาผมบาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในตัวเองอย่างมาก สาเหตุของปัญหาผมบางนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่พันธุกรรม ความเครียด การขาดสารอาหาร ไปจนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผมที่ไม่เหมาะสม แต่ไม่ต้องกังวลไป บทความนี้จะมาเผยเคล็ดลับการดูแลผมที่ได้ผลจริง เพื่อให้คุณมีผมสวยสุขภาพดีอีกครั้ง

อาการที่บอกว่า ผมร่วงมากกว่าปกติ

หากคุณกังวลเรื่องผมบางมาก ๆ ลองสังเกตอาการดังนี้

  • ผมขาดเป็นวงกลมหรือเป็นหย่อม ๆ บนศีรษะ หรือผมบางกลางหัวในผู้ชายผม
  • บางลงเรื่อย ๆ จนสังเกตเห็นได้ชัด หรือบางทั่วทั้งหัว ซึ่งอาการแบบนี้พบได้บ่อยในผู้หญิง แต่ในผู้ชายมักจะบางเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีผมร่วงมากขึ้น หรืออาจกำลังเป็นศีรษะล้าน
  • หนังศีรษะลอกเป็นขุย คัน หรือมีรอยแดง อาจบ่งบอกถึงปัญหาที่รุนแรงกว่า
  • การที่ผมร่วงบ้างเล็กน้อยนั้นถือเป็นเรื่องปกติของร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะผมร่วงประมาณ 70-100 เส้นต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเส้นผมทั้งหมด 90,000 – 140,000 เส้น บนศีรษะ แต่ถ้าสังเกตเห็นว่าผมร่วงเยอะเกิน 200 เส้นต่อวัน เช่น พบเส้นผมจำนวนมากติดอยู่ที่หวี หมอน หรือในอ่างอาบน้ำบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าเรากำลังเผชิญกับปัญหาผมร่วงที่ควรใส่ใจ
  • ทุกเช้าที่ส่องกระจก ลองสังเกตแนวผมบริเวณหน้าผาก ว่าเริ่มถอยร่นเข้าไปเรื่อย ๆ หรือไม่? เพียงวัดระยะจากกลางหว่างคิ้วตรงขึ้นไปถึงจุดกึ่งกลางของแนวไรผม หากเกิน 6.5 เซนติเมตร ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ นอกจากนี้ สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่ มักพบปัญหาผมร่วงเป็นรูปตัว M คือบริเวณขมับทั้งสองข้างจะบางลงก่อน ลองวัดระยะเฉียงจากหัวคิ้วออกไปถึงจุดที่ผมเว้าลึกที่สุดบริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง หากเกิน 8 เซนติเมตร ก็ถือว่าเป็นภาวะผมร่วงมากกว่าปกติ
  • ผมยาวช้าลงกว่าแต่ก่อน ซึ่งปกติแล้ว ผมจะยาวขึ้นปีละประมาณ 6 นิ้ว อาจเป็นเพราะรากผมทำงานไม่ดีเท่าเดิม ทำให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ผู้ชาย VS. ผู้หญิง ใครมีโอกาสผมร่วงมากกว่ากัน

สาเหตุของผมบางในเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกัน โดยในเพศชายนั้น พันธุกรรมและฮอร์โมนเพศชาย โดยเฉพาะ DHT มีบทบาทสำคัญในการทำให้รูขุมขนเล็กลงและผลิตเส้นผมได้น้อยลง นอกจากนี้ พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่และความเครียด ยังเร่งให้ผมร่วงเร็วขึ้นอีกด้วย ในขณะที่เพศหญิงนั้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงต่าง ๆ เช่น หลังคลอดหรือวัยหมดประจำเดือน รวมถึงความเครียด การขาดสารอาหาร และโรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการหลุดร่วงของเส้นผมได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้หญิงยังเผชิญกับปัจจัยภายนอกที่ทำร้ายเส้นผมและหนังศีรษะมากกว่าผู้ชาย เช่น การทำสีผม ดัดผม ใช้ความร้อนจัด และการสระผมบ่อยครั้ง ซึ่งล้วนทำให้อาการผมร่วงรุนแรงขึ้นได้

สาเหตุของปัญหาผมบาง

ผมบางเกิดจากอะไร? สาเหตุของปัญหาผมบางมีมากมาย ทั้งปัจจัยภายในร่างกาย และปัจจัยภายนอก การหาสาเหตุที่แท้จริงจะช่วยให้สามารถรักษาและป้องกันปัญหาผมบางได้อย่างตรงจุด

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผมบาง ยาและการรักษา เช่น ยาเคมีบำบัด ยากดภูมิคุ้มกัน ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาลดความดัน ยาคุมกำเนิด และยาบางชนิดสำหรับรักษาโรคเรื้อรัง สามารถเป็นสาเหตุให้ผมบางได้ การติดเชื้อ เชื้อราบนหนังศีรษะสามารถทำให้เกิดการอักเสบ และผมบางได้หรือเป็นผลกระทบหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 การรักษาทางการแพทย์ การฉายรังสีและเคมีบำบัดมักมีผลข้างเคียงนั้นก็คือผมบาง พฤติกรรมที่รุนแรง เช่น การดึงผมแรง ๆ การขัดถูหนังศีรษะแรงเกินไป การทำผมที่ก่อให้เกิดความร้อนสูง เช่น การหนีบผม การดัดผม การยืดผม หรือการทำสีผมบ่อย ๆ สามารถทำลายโครงสร้างของเส้นผมและทำให้ผมบางได้ ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวดผม สเปรย์จัดแต่งทรงผม หากใช้ในปริมาณมากหรือบ่อยเกินไป อาจทำให้หนังศีรษะระคายเคืองและผมบางได้ สภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะ แสงแดดที่รุนแรง และความเครียดจากสภาพแวดล้อม ก็เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผมบางได้ การใส่วิกผมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการกดทับและการบาดเจ็บที่เส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วงและหนังศีรษะอักเสบได้ ปัจจัยภายในที่ทำให้ผมบาง พันธุกรรมและฮอร์โมน เป็นสาเหตุหลักของผมบางในผู้ชาย คือ ภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน (Androgenetic alopecia) เกิดจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เส้นผมลีบมีลักษณะเส้นเล็กและหลุดร่วงง่าย ระบบภูมิคุ้มกัน โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันรบกวนรากผม ทำให้ผมหลุดร่วงเป็นวงกลม ความเครียดและการเจ็บป่วย ความเครียด การเจ็บป่วยรุนแรง หรือการผ่าตัด อาจทำให้ผมเข้าสู่ช่วงพักตัวและหลุดร่วงได้ โรคเรื้อรัง เช่น โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคไทรอยด์ และโรคติดเชื้อบางชนิด สามารถทำให้ผมบางได้ ภาวะขาดสารอาหาร การขาดธาตุเหล็ก โปรตีน หรือวิตามิน อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม โรคทางพันธุกรรม โรคบางชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจทำให้ผมบางตั้งแต่เกิด


ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผมบาง

  • ยาและการรักษา เช่น ยาเคมีบำบัด ยากดภูมิคุ้มกัน ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาลดความดัน ยาคุมกำเนิด และยาบางชนิดสำหรับรักษาโรคเรื้อรัง สามารถเป็นสาเหตุให้ผมบางได้
  • การติดเชื้อ เชื้อราบนหนังศีรษะสามารถทำให้เกิดการอักเสบ และผมบางได้หรือเป็นผลกระทบหลังจากการติดเชื้อโควิด-19
  • การรักษาทางการแพทย์ การฉายรังสีและเคมีบำบัดมักมีผลข้างเคียงนั้นก็คือผมบาง
  • พฤติกรรมที่รุนแรง เช่น การดึงผมแรง ๆ การขัดถูหนังศีรษะแรงเกินไป การทำผมที่ก่อให้เกิดความร้อนสูง เช่น การหนีบผม การดัดผม การยืดผม หรือการทำสีผมบ่อย ๆ สามารถทำลายโครงสร้างของเส้นผมและทำให้ผมบางได้
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวดผม สเปรย์จัดแต่งทรงผม หากใช้ในปริมาณมากหรือบ่อยเกินไป อาจทำให้หนังศีรษะระคายเคืองและผมบางได้
  • สภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะ แสงแดดที่รุนแรง และความเครียดจากสภาพแวดล้อม ก็เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผมบางได้
  • การใส่วิกผมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการกดทับและการบาดเจ็บที่เส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วงและหนังศีรษะอักเสบได้


ปัจจัยภายในที่ทำให้ผมบาง

  • พันธุกรรมและฮอร์โมน เป็นสาเหตุหลักของผมบางในผู้ชาย คือ ภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน (Androgenetic alopecia) เกิดจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เส้นผมลีบมีลักษณะเส้นเล็กและหลุดร่วงง่าย
  • ระบบภูมิคุ้มกัน โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันรบกวนรากผม ทำให้ผมหลุดร่วงเป็นวงกลม
  • ความเครียดและการเจ็บป่วย ความเครียด การเจ็บป่วยรุนแรง หรือการผ่าตัด อาจทำให้ผมเข้าสู่ช่วงพักตัวและหลุดร่วงได้
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคไทรอยด์ และโรคติดเชื้อบางชนิด สามารถทำให้ผมบางได้
  • ภาวะขาดสารอาหาร การขาดธาตุเหล็ก โปรตีน หรือวิตามิน อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม
  • โรคทางพันธุกรรม โรคบางชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจทำให้ผมบางตั้งแต่เกิด

5 วิธีการรักษาอาการผมบาง

ผมบางแก้ยังไง? ปัญหาผมบางส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีวิธีการรักษาและฟื้นฟูเส้นผมให้กลับมาสวยสุขภาพดีหลากหลายวิธี ดังนี้


1. ปริมาณของวิตามิน

  • ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยการขยายหลอดเลือดที่เลี้ยงรากผม ทำให้รากผมแข็งแรงและเส้นผมงอกใหม่ได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่ประสบปัญหาผมบาง
  • ฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็น DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รูขุมขนเล็กลงและผมหลุดร่วง จึงเหมาะสำหรับผู้ชายที่มีปัญหาผมบางจากกรรมพันธุ์


2. การทำ PRP ผม

PRP (Platelet-Rich Plasma) หรือ พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น คือการนำเลือดของผู้ป่วยเองมาปั่นแยกเอาส่วนที่เป็นเกล็ดเลือด ซึ่งอุดมไปด้วย Growth Factors ที่ช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและฟื้นฟูเนื้อเยื่อต่าง ๆ เมื่อนำไปฉีดเข้าสู่หนังศีรษะ จะช่วยกระตุ้นรากผมให้ตื่นตัว ทำให้เส้นผมงอกใหม่ แข็งแรง และหนาขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือต้องการชะลอการเกิดผมหงอก ซึ่งข้อดีของ PRP คือปลอดภัย เนื่องจากใช้เลือดของตัวเอง และผลลัพธ์เป็นธรรมชาติ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นผมของแต่ละบุคคล และอาจต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ก่อนตัดสินใจทำ PRP ผม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพเส้นผมและหนังศีรษะก่อน


3. การทำเลเซอร์กระตุ้นรากผม

การทำเลเซอร์กระตุ้นรากผมเป็นการรักษาปัญหาผมบาง ด้วยการใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำส่องหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นเซลล์รากผมให้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น ลดการหลุดร่วง และอาจกระตุ้นให้เกิดเส้นผมใหม่ได้

การรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง แต่ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือต้องการเพิ่มความหนาของเส้นผม หากสนใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม


4. การปลูกผม

การปลูกผมเป็นกระบวนการย้ายรากผมจากบริเวณที่มีผมหนาไปยังบริเวณที่ผมบางหรือหัวล้าน ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดและถาวรที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด เช่น เลือดออก บวม หรือรอยแผลเป็น โดยระดับความเสี่ยงจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สุขภาพโดยรวม และเทคนิคการปลูกผม


5. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อสังเกตเห็นอาการผมบาง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ซึ่งในการปรึกษา แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพของคุณอย่างละเอียด รวมถึงประวัติครอบครัวที่มีปัญหาผมบางหรือไม่ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ และอาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจชิ้นเนื้อหนังศีรษะ หรือตรวจอื่น ๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือการปลูกผม

เคล็ดลับดูแลและลดโอกาสเกิดผมบาง

บำรุงเส้นผมอย่างถูกวิธี ช่วยลดปัญหาผมบางและผมร่วงได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • เสริมวิตามิน ผมบางกินอะไรดี? หากร่างกายขาดวิตามินดีหรือธาตุเหล็ก การทานยาเสริมภายใต้คำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้ผมแข็งแรงขึ้น
  • ดูแลเส้นผม ผมบางใช้อะไรดี? ใช้แชมพูที่อ่อนโยน หลีกเลี่ยงการทำร้ายเส้นผม เช่น ดัด ยืด หรือใช้ความร้อนสูง
  • เป่าผมก่อนนอน การสระผมในช่วงเย็นหรือก่อนนอนนั้น ควรเป่าผมให้แห้งสนิทก่อนเข้านอนเสมอ เพราะหากนอนทั้งที่ผมยังเปียก ความชื้นจะทำให้หนังศีรษะอับชื้น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียและเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้ เส้นผมเปียกจะอ่อนแอและขาดง่าย เมื่อเราพลิกตัวขณะนอน เส้นผมอาจจะขาดหรือหลุดร่วงได้มากขึ้น ทำให้ผมบางได้ในระยะยาว
  • นวดหนังศีรษะ การนวดศีรษะเบา ๆ ด้วยปลายนิ้ว ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ควรนวดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อผมสวยสุขภาพดี

รักษาผมบางที่ Zeniq Holistic Clinic ดีกว่าอย่างไร

ใครที่กำลังกังวลเรื่องผมบางหรือศีรษะล้าน สามารถกลับมามั่นใจกับเส้นผมดกดำได้อีกครั้งที่ Zeniq Holistic Clinic ด้วยเทคนิคพิเศษ Long hair + DHI ที่ไม่ต้องผ่าตัด ไร้รอยแผลใหญ่และแทบมองไม่เห็นรอยเจาะเล็ก ๆ ด้านหลัง ทำให้คุณกลับมามีเส้นผมที่ดูเป็นธรรมชาติ เหมือนผมที่งอกขึ้นมาเองโดยไม่ต้องปลูก ซึ่งผมที่ได้จะดกดำแข็งแรง ทั้งยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติทันทีหลังทำ ไม่ต้องพักฟื้นยาวนาน

 

นอกจากนี้ ที่คลินิกยังเลือกใช้อุปกรณ์และน้ำยาคุณภาพสูง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อมอบความมั่นใจให้คุณด้วยเส้นผมใหม่ที่ดูเป็นธรรมชาติอย่างที่ต้องการ โดยการปลูกผมจะมีราคา ดังนี้

  • Long hair ราคาประมาณ 120,000 บาท (เคสรีวิว 89,000 บาท)
  • DHI ราคาประมาณ 89,000 บาท (เคสรีวิว 70,000 บาท)

สรุป

ผมบางเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน สาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม ฮอร์โมน ความเครียด และการขาดสารอาหาร การรักษาผมบางมีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ยา การทำ PRP เลเซอร์ และการปลูกผม ซึ่งการเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของปัญหา ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่สุด นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การดูแลสุขภาพโดยรวม เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ ก็มีส่วนช่วยในการรักษาปัญหาผมบางได้เช่นกัน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *